วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ทักษะกีฬาฟุตซอล ( ทักษะการรับบอล )

ทักษะกีฬาฟุตซอล

 ทักษะการรับบอล
               หลักทั่วไป
               ทักษะในการรับบอลหรือบังคับบอล หมายถึง  การบังคับบอลที่มาในลักษณะต่าง ๆ ทั้งบนพื้นและในอากาศ เพื่อให้บอลอยู่ในครอบครองและสามารถเล่นต่อไปตามความต้องการ   การรับบอลหรือหยุดบอลนั้นเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญในการเล่นฟุตซอล  หากหยุดหรือรับบอลไม่อยู่ จะทำให้เสียบอลให้ฝ่ายตรงข้ามได้

                    เทคนิคการหยุดบอลหรือรับบอล
                     การหยุดบอลหรือรับบอล โดยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
                 1.1 การหยุดบอลด้วยฝ่าเท้า (เรียด)
                 การหยุดบอลด้วยฝ่าเท้า เป็นการหยุดที่ง่ายที่สุดลูกเรียดที่กลิ้งเข้ามาหา ยืนทรงตัวให้ดีพร้อมกับยื่นเท้าออกไปข้างหน้าแล้วใช้ฝ่าเท้าหยุดบอล

               1.2 การหยุดบอลด้วยเท้าด้านใน (หยุดลูกแป)
                                1.  ลักษณะการยืนและท่าทางเหมือนกับการเตะข้างเท้าด้านใน
                             2.  เมื่อบอลวิ่งเข้าหาจากด้านหน้า ด้านข้างหรือจากด้านหลัง เท้าที่เป็นหลักและเท้าที่จะหยุดบอลอยู่ในลักษณะเหมือนกับการเตะด้วยข้างเท้าด้านใน
                            3.  เท้าที่จะหยุดบอลยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วผ่อนโดยดึงเท้ากลับเล็กน้อย ก่อนจะสัมผัสและหยุดบอล
                1.3 การหยุดบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก
                               1.   ตามองบอลพร้อมกับหันข้างที่ใช้เป็นเท้าในการรับบอล
                               2.  เท้าที่ใช้เป็นหลักควรย่อเข่าลงเล็กน้อย
                          3.  ลักษณะข้างเท้าที่ใช้รับบอลควรผ่อนเท้าตามแรงเข้าหาของลูกบอลหันข้างเท้าด้านนอกเข้าหา เมื่อบอลสัมผัสเท้า



แบบฝึกหัด

1. การจัดการแข่งขันฟุตซอลครั้งแรกมีขึ้นใน พ.ศ.ใด 
ก. พ.ศ 2539
ข. พ.ศ 2540
ค. พ.ศ 2541
ง. พ.ศ 2542
2. ในการแข่งขันฟุตซอลแบ่งครึ่งละกี่นาที 
ก. 20 นาที 
ข. 30 นาที 
ค. 40 นาที 
ง. 50 นาที 
3. ในการแข่งขันฟุตซอมีจำนวนผู้เล่นกี่คน 
ก. 5 คน
ข. 6 คน
ค. 7 คน
ง. 8 คน
4. ในการเล่นฟุตซอลในขณะที่แข่งต้องใช้ความคิดอะไรบ้าง 
ก. ความคิดดี
ข. ความคิดที่จะทำให้ได้
ค. ความคิดที่จะเอาชนะผู้ต่อสู้
ง. ความคิด ความเร็วการเครื่อนไหวและการตัดสินใจ
5. ในกรแข่งขันฟุตซอลมีการข้อเวลานอกแต่ละครั้งได้กี่นาที 
ก. 1 นาที
ข. 3 นาที
ค. 5 นาที
ง. 7 นาที

เฉลย
1.   ข
2.   ก
3.   ก
4.   ง
5.   ข

การเล่นฟุตบอลและกติกาการเล่นฟุตบอล

การเล่นฟุตบอลและทักษะเบื้องต้นของการเล่นฟุตบอล


         จำนวนผู้เล่น (The Number of Players)
การแข่งขัน เล่นโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 11 คน และต้องมีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู จะไม่อนุญาตให้ทีมทำการแข่งขัน ถ้าผู้เล่นทีมใดน้อยกว่า 7 คน
         การแข่งขันที่เป็นทางการ(Official Competition)
ในการแข่งขันที่เป้นทางการภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์หรือสมาคมแห่งชาตอ การเปลี่ยนผู้เล่นทำได้มากที่สุด 3 คน
ระเบียบการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผู้เล่นสำรองที่ส่งชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าใด จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน
        ระยะเวลาของการแข่งขัน(The Duration of the Match)
ช่วงเวลาของการเล่น (Periods of Play)
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย


                            การทรงตัว
        การทรงตัวเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีความสำคัญในการฝึกกีฬาทุกชนิด เพื่อการเคลื่อนไหวได้อย่าง
คล่องแคล่วว่องไว สามารถทำให้การเล่นกีฬาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สนุกสนานเร้าใจท่าทางการทรงตัว
ที่ผู้เล่นฟุตบอลควรฝึกหัดมีดังนี้
       1. ทำการทรงตัวและจังหวะการใช้เท้าทั้งบนพื้นดินและในอากาศ
       2. การถ่ายน้ำหนักตัวไปสู่เท้าหลัก เมื่อมีการครอบครองลูก เตะลูกหรือเลี้ยงลูกฟุตบอล
       3. การวิ่งตามแบบของฟุตบอล เช่น วิ่งไปที่มุมสนาม วิ่งหาช่องว่าง วิ่งตัดกันเพื่อหลอกคู่ต่อสู้
       4. การวิ่งซิกแซ็ก เพื่อการหลบหลีกเมื่อเลี้ยงหรือครอบครองลูก


ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวา มีวิธีการฝึกดังนี้ 1. ทิ้งน้ำหนักตัวไปสู่ทิศทางที่จะเคลื่อนที่ไป ตาจับอยู่ที่ลูกบอล 2. เคลื่อนเท้าที่อยู่ในทิศทางที่จะเคลื่อนไป นำไปก่อน แล้วจึงเคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปโดยเร็ว เช่น ไปทางซ้ายให้ก้าวเท้าซ้ายนำไปก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามไป 3. การใช้ปลายเท้าสัมผัสพื้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น การสร้างความคุ้นกับลูกฟุตบอล พื้นฐานของการเล่นฟุตบอลที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างความสัมพันธ์หรือความคุ้นเคยกับลูก ฟุตบอลเป็นอย่างดี กล่าวคือ การเล่นลูกฟุตบอลต้องสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะ เป็นการเล่นลูกแบบใดก็ตาม การที่ผู้เล่นคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลจะส่งผลให้การครอบครองบอล การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ การควบคุมบังคับทิศทางของลูกฟุตบอลเป็นไปด้วยความแม่นยำ ดังนั้น จึงควรให้ผู้เล่นฝึกความคุ้น เคยให้ชินกับลูกฟุตบอลมากที่สุด






แบบฝึกหัด

ข้อที่ 1)
การเล่นกีฬาฟุตบอลใช้อวัยวะส่วนใดของร่างกายมากที่สุด
   มือ,แขน,เข่า
   ศีรษะ,ตา,แขน,เข่า
   ศีรษะ,เข่า,เท้า
   ศีรษะ,เข่า,ลำตัว

ข้อที่ 2)
ข้อใดเป็นการสร้างความคุ้นเคยในการเล่นกีฬาฟุตบอล
   ใช้เท้าเลี้ยง
   ใช้ศีรษะโหม่ง
   ใช้เข่าเดาะ
   ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 3)
เกมต่อไปนี้เกมใดที่นำไปสู่ทักษะในการเล่นกีฬาฟุตบอลได้ดีทีที่สุด
   ลิงชิงบอล
   เกมขี่ม้าส่งเมือง
   ปาบอลข้ามแดน
   บอลพิษ

ข้อที่ 4)
การเตะฟุตบอลส่วนมากเราใช้เท้าส่วนใดมากที่สุด
   ส้นเท้า
   ข้างเท้าด้านใน
   หลังเท้า
   ข้างเท้าด้านนอก

ข้อที่ 5)
ลูกที่มีความรุนแรงมากทีสุดในการเตะคือลูกใด
   ลูกพร้อม
   ลูกหลังเท้า
   ลูกแป
   ลูกปลายเท้า



การเล่นเทเบิลเทนนิส(ปิงปอง)

กติกาการเล่นเทเบิลเทนนิส(ปิงปอง) 
แบบประเภทเดี่ยวและประเภทคู่
การเล่นประเภทเดี่ยว

1.  ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกใสนามทางขวามือ เมื่อผู้ส่งลูกทำแต้มไม่ได้หรือแต้มที่ได้เป็นเลขคู่
2.  
ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกใสนามทางซ้ายมือ เมื่อผู้ส่งได้แต้มเป็นเลขคี่
3.  
ผู้ส่งลูกและรับลูกจะตีโต้ลูกจนกว่าจะเกิด"เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น
4.  
ถ้าผู้รับทำ"เสีย"หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นภายใน สนามของผู้รับลูก ผู้ส่งลูกได้หนึ่งแต้ม แ      ละยังได้ส่งลูกต่อในสนามส่งลูกอีกข้างหนึ่ง
      
ถ้าผู้ส่งลูกทำ"เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นภายใน สนามของผู้ส่งลูก 
     
ผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ ส่งลูก กลับเป็นผู้รับลูกได้ส่งแทน โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม้ได้แต้





 การเล่นประเภทคู่
     1.  เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลูกจะต้องเริ่มส่งลูกจากสนามส่งลูกทางขวามือ

     2.  ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัวหรือคู่ขาของผู้รับลูกตีกลับไป ผู้ส่งได้หนึ่งแต้ม
     3.  หลังจากที่รับลูกแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งลูกตีกลับไป และอีกฝ่ายก็ตีกลับมาทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น
     3.1  หลังจากที่รับลูกที่ส่งมาแล้วผู้สามารถตีโต้จกที่ไหนๆก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
     4.  ถ้าฝ่ายรับทำลูกเสีย ฝ่ายส่งได้หนึ่งแต้ม และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกอีก
     4.1  ถ้าฝ่ายส่งลูกทำลูกเสียผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ในการส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้แต้ม
     5.  ผู้เล่นที่มีสิทธิ์ส่งลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกมจะส่งลูกหรือรับลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้แต้มในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือ เมื่อแต้มเป็นเลขคี่
     5.1  ผู้เล่นที่เป็นผู้รับลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับลูกหรือส่งลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้แต้มหรือแต้มเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือเมื่อแต้มเป็นเลขคี่
     5.2  คู่ขาของผู้เล่นต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันในทางตรงข้าม
     6.  การส่งลูกทุกครั้ง จะต้องส่งจากสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้าม 
     7.  สิทธิ์การส่งลูกผ่านติดต่อกันจากผู้ส่งคนแรกของแต่ละเกมไปยังผู้รับลูกคนแรกในเกมนั้น และจากผู้เล่นคนนั้นไปยังคู่ขา และแล้วต่อไปยังผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม
     8.  ห้ามมิให้ผู้เล่นส่งลูกหรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่งและผู้รับ
     9.  ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายชนะจะเป็นผู้ส่งลูกก่อนก็ได้และผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับก็ได้


แบบฝึกหัด

1. การตีลูกหน้ามือด้วย การจับไม้แบบธรรมดาข้อใดผิด 
 
ยืนในท่าเตรียมพร้อม มือข้างถนัดจับไม้แบบจับมือ          
 
เมื่อลูกกระดอนลอยมาทางด้านหน้ามือ บิดไหล่ ลำตัวและสะโพกพร้อมเหวี่ยงไม้
 
ขณะที่ลูกลอยขึ้นจากนั้นเมื่อได้จังหวะลากไม้กระทบลูก   
 
ยืดแขนตามแรงส่งที่ตีออกไป
2.การตีลูกหลังมือด้วย การจับไม้แบบธรรมดาข้อใดผิด
 
ยืนในท่าเตรียมพร้อม มือข้างถนัดจับไม้แบบจับมือ          
 
เมื่อลูกกระดอนลอยมาทางด้านหน้ามือ บิดไหล่ ลำตัวและสะโพกพร้อมเหวี่ยงไม้
 
ขณะที่ลูกลอยขึ้นจากนั้นเมื่อได้จังหวะลากไม้กระทบลูก   
 
ยืดแขนตามแรงส่งที่ตีออกไป
3.การส่งลูกที่ดีคือการส่งแบบใด
 
คือการตีลูกแบบหน้าไม้          
 
คือการตีต้องการให้ผู้รับตีกลับมาได้ยาก
 
คือการตีลูกแบบหลังไม้          
 
คือการตีลูกแบบหน้าไม้หรือหลังไม้ก็ได้
4. การส่งลูกมีลักษณะการส่งกี่ลักษณะ
 2
ลักษณะ           
 4
ลักษณะ           
 6
ลักษณะ           
 8
ลักษณะ           
5.การส่งลูกแบบจับปากกากับแบบจับธรรมดาแตกต่างกันอย่างไร
 
ลักษณะการยืน              
 
ลักษณะการเหวี่ยงไม้           
 
ลักษณะการจับไม้          
 
ลักษณะการจับลูกตี


กติกาการเล่นเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ

กติกาการเล่นเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ

1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
     2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
     2.2
หน้าซ้าย
     2.3
หน้าขวา
3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที

แนะนำอุปกรณ์กีฬาตะกร้อ

 ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )

1.1
พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง  4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร  แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )
2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง  ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )
3.1  ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน  มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า แถบแสดงเขตสนาม
3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก      ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง  1.55 เมตร ( ผู้หญิง  1.45 เมตร )
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL )
ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )
 
  1. แนะนำการดูกีฬาตะกร้อ

มารยาทในการเล่นที่ดี

การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ
1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
2.
การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี
3.
ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ
4.
ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
5.
ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา
6.
ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา
7.
ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี
8.
หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
9.
ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้
10.
ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ
11.
ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
12.
มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
13.
หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
14.
เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา
มารยาทของผู้ชมที่ดี
1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม
2.
ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน
3.
นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ
4.
ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ
5.
ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก
6.
อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ
7.
ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน
8.
ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด
9.
ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร
10.
ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน
11.
สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ


แบบฝึกหัด


ข้อที่ 1
ผู้เสิร์ฟที่ถูกต้อง จะต้องปฏิบัติอย่างไร
   เท้าทั้งสองอยู่ในวงกลม
   เท้าข้างใดข้างหนึ่งอยู่ในวงกลม
   เท้าที่เตะลูกอยู่ในวงกลม
   เท้าเหยียบเส้นวงกลมเสิร์ฟ

ข้อที่ 2
ข้อใดไม่นับว่าเป็นการกระทำฟล์าว
   เหยียบเส้นแบ่งแดน
   เท้าข้ามตาข่ายขณะติดตามลูก
   ตะกร้อถูกมือหรือเสื้อผ้าโยไม่ได้ตั้งใจ
   ผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาตาข่าย

ข้อที่ 3
เมื่อการแข่งขันเซทที่ 1 จบลง เริ่มเล่นในเซทที่ 2 อย่างไร
   ทีมที่แพ้เริ่มเสิร์ฟในเซทที่ 2
 
   เปลี่ยนแดนเริ่มเสิร์ฟด้วยทีมที่ชนะในเซทที่ 1
   เปลี่ยนแดนเริ่มเสิร์ฟด้วยทีมที่แพ้ในเซทที่ 1
   มีการเสี่ยงเพื่อหาทีมที่เริ่มเสิร์ฟในเซทที่ 2

ข้อที่ 4
ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับการเปลี่ยนตัว
   ผู้เล่นสำรองขออนุญาตเปลี่ยนตัวกับผู้ตัดสิน
   สามารถเปลี่ยนตัวได้สองคน
   เมื่อผู้เล่นถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันเปลี่ยนตัวผู้เล่นลงไปใหม่ได้ถ้ายังไม่ใช้สิทธิ์
   ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวออกไปแล้วสามารถเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นใหม่ได้

ข้อที่ 5
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
   ในเซทที่ 1 และเซทที่ 2 ทีมที่ทำคะแนนได้ 21 คะแนน ก่อนเป็นทีมที่ชนะ
   ถ้าแต่ละทีมทำ20 คะแนนเท่ากัน ผู้ชนะจะต้องทำคะแนนต่างกัน2 คะแนน และสิ้นสุดที่ 25 คะแนน
   เมื่อมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้นฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันที
   เมื่อมีการแข่งขันในเซทที่ 3 ให้ทีมที่ชนะในเซทที่ 2 เป็นทีมที่เสิร์ฟลูกก่อน